วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

thumbnail

สงสัย สินบนโรลสรอยซ์

ผมได้อ่านข่าวว่ามีการกล่าวอ้างจากบริษัท โรลสรอยซ์ ว่ามีการจ่ายสินบนให้กับ 3 หน่วยงานของรัฐซึ่งอยู่ในช่วงปี 2534-2548 รวม 3 ครั้ง ซึ่งก็ผ่านมาในหลายรัฐบาล ซึ่ง ตามข่าวก็อ้างอิงกับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องว่า นอกจากการบินไทยที่เป็นผู้สั่งซื้อแล้ว ท่าอากาศยานไทย กับ คณะรัฐมนตรีต้องยินยอมในการสั่งซื้อด้วย  และได้พุ่งประเด็นไปยังนายกรัฐมนตรีบางท่านเพียงคนเดียวอย่างเจาะจง จึงสงสัยว่าแล้วนายกท่านอื่นๆที่อยู่ในช่วงเวลาแห่งการจ่ายสินบนในงานนี้มีนายกท่านใดบ้าง จึงขอรายงานให้ทราบโดยทั่วกัน

ครั้งแรกจ่ายไป 18.8 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 660 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2534-30 มิถุนายน 2535
ครั้งที่สองจ่ายไป 10.38 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 364 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2535-31 มีนาคม 2540
ครั้งที่สามจ่ายไปอีก 7.2 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 252 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2547-28 กุมภาพันธ์ 2548

แต่ข่าวที่ว่ากับพุ่งประเด็นมาที่นายกในช่วงที่ 3 ซึ่งในขณะนั้น ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงที่สามคือ คุณทักษิณ ชินวัตร คือในปี 2547 และไม่ได้กล่าวถึง นายกอีกสองท่าน ผมก็เลยนำมาเขียนเพื่อให้ทราบว่า อีกสองท่านเป็นใคร

ครั้งแรกจ่ายไป 18.8 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 660 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2534-30 มิถุนายน 2535
ก็คือนายกรัฐมนตรีคนที่ 18 คุณอานันท์ ปันยารชุน ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 - 7 เมษายน พ.ศ. 2535
และนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 พลเอก สุจินดา คราประยูร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535

ครั้งที่สองจ่ายไป 10.38 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 364 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2535-31 มีนาคม 2540 ซึ่งใช้เวลาเวลาถึง 5 ปี ในช่วงนี้ และ ผ่านไปในอีกหลายรัฐบาล ก็คือ
ก็คือนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 พลเอก สุจินดา คราประยูร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
คุณมีชัย ฤชุพันธุ์ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 (รองนายกรัฐมนตรี รักษาการในตำแหน่ง เมื่อนายกคนที่ 19 ลาออก)
นายกรัฐมนตรีคนที่ 18 คุณอานันท์ ปันยารชุน 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 - 23 กันยายน พ.ศ. 2535 (กลับมาดำรงแหน่งในฐานะรัฐมนตรีเพราะเหตุการณ์วุ่นวานในบ้านเมืองในเวลานั้น)
นายกรัฐมนตรีคนที่ 20 คุณชวน หลีกภัย 23 กันยายน พ.ศ. 2535 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 คุณบรรหาร ศิลปอาชา 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีคนที่ 22 คุณพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540

ครั้งที่สามจ่ายไปอีก 7.2 ล้านดอลลาร์ ประมาณ 252 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2547-28 กุมภาพันธ์ 2548
นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 คุณทักษิณ ชินวัตร 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2548

ซึ่งการจ่ายสินบนจะเป็นใครบ้างในเวลานี้ข่าวไม่ได้แจ้ง เท่าที่ทราบการที่การที่คนกล่าวอ้างว่านายกรัฐมนตรีรู้เห็นในการจ่ายสินบนโรลสรอยซ์ นั้นไม่น่าเป็นไปได้เพราะคณะรัฐมนตรีเป็นเพียงแค่ผู้ค้ำประกันในการสั่งซื้อเครื่องบินเหล่านั้นเพราะอย่างแรกการบินไทยเป็นสายการบินแห่งชาติและเป็นรัฐวิสาหกิจรัฐบาลมีส่วนร่วมในการปันผลกำไรขาดทุนกับการดำเนินงานนี้ด้วย และการจัดซื้อเครื่องบิน รัฐก็เปรียบเหมือนกรรมการผู้บริหารซึ่งต้องลงนามรับรู้และรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งการสั่งซื้อเครื่องบินต้องผ่าน ครม. ลงมติในสภาผู้แทนราษฎรซึ่งก็ต้องมี สส. ยกมือสนับสนุนด้วย ซึ่งการติดสินบน รัฐบาลทั้งคณะคงเป็นได้ยากแต่ก็ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ด้วยการพลิกแพลงของคนซึ่งก็อาจจะเป็นไปได้ ว่าใครในรัฐบาลมีส่วนรับเงิน สินบนโรลสรอยซ์ หรือ ไม่ได้รับอะไรเลยก็อาจะเป็นได้ แต่ผู้ที่รับเงินไต้โต๊ะตามที่ บริษัทโรลสรอยซ์ กล่างอ้างนั้นน่าจะมีแน่ๆ แต่ผมไม่รู้ว่าเป็นใคร เพราะ บริษัทโรลสรอยซ์ ไม่ได้บอก


สรุปว่างานนี้ผมเพียงแค่สงสัยว่า ช่วงที่มีการจ่ายสินบน ผ่านนายกมากี่คนที่มีใครบ้าง ซึ่งข่าวไม่ได้บอกรายละเอียดทั้งหมดก็เลยนำมาเรียบเรียงกันใหม่เพื่อทราบโดยทั่วกัน

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

thumbnail

สงสัย ครูแพะ

“คุณมีสิทธิที่จะไม่พูด เพราะคำพูดของคุณทุกคำจะใช้เป็นพยานในชั้นศาล”

หนังฝรั่งเวลาจับคนร้ายได้ในขณะทำผิดจะพูดแบบนี้ หรือถ้ามีหมายศาลมาก็จะพูดแบบนี้เหมือนกัน อันนี้คือหนังสร้างเพื่อความบันเทิง แต่ชีวิตจริงคนที่ทำผิดจริง เขาจะรีบขอปฏิเสธไว้ก่อนทันทีแล้วถ้ามีสิ่งผิดกฎหมายอยู่ในมือก็ต้องรับทิ้งให้ห่างจากตัว ต่อให้ตำรวจตามเก็บได้ก็จะบอกว่า
”ไม่ใช้ผม ผมม่ายยยย....ผิด”
ยิ่งถ้าคุณไม่ได้ทำผิด ยิ่งต้องรีบขอปฏิเสธทันทีว่า คุณไม่ได้ทำ
จากกรณี ”ครูแพะ” ผมไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ตำรวจส่งจดหมายเรียก ไม่ใช่หมายจับ นั่นหมายถึงว่าคุณยังไม่ผิดเพราะครูไปพร้อมกับสามีและทนายความ ซึ่งที่เธอน่าจะในการกับตำรวจก็คือ “ขอปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา แล้วอาจจะมีการประกันตัวออกไปหรือเปล่า ข่าวไม่ได้แจ้ง

สิ่งที่จะต้องทำต่อจากนั้นคือ
หาพยานรู้เห็นว่าเธอและรถอยู่ที่บ้านในวันและเวลาเกิดเหตุ น่าจะมีคนเดินผ่านบ้านเธอและเห็นรถเธอจอดอยู่บ้าง คนข้างบ้าน แถวบ้านแม่ค้าหาบเร่แผงลอยอาจจะมีใครเห็น ซึ่งเธออาจจะประกาศหาคนแถวนั้นเพื่อมาให้เป็นพยานตั้งแต่ศาลชั้นต้นเลย ว่าเวลานั้นรถเธอจอดอยู่ที่บ้านไม่ได้ไปไหน ซึ่ง ตัวเธอจะมีคนเห็นหรือไม่เห็นก็แล้วแต่ เพียงแต่รถยนต์มันอยู่บ้านในเวลาเกิดเหตุก็จบ เพราะสิ่งที่ทำให้คนเสียชีวิตคือ รถ ที่ชน ส่วนเธอจะอยู่บ้านหรือไม่อยู่บ้านก็ไม่ใช่ปัญหา
แล้วมีพยานที่เห็นเหตุการณ์ มาแถลงต่อศาลว่า เป็นผู้ชายขับ หรือ ไม่แน่ใจอะไรก็แล้วแต่ ผมเชื่อว่า ครูแพะหลุดคดีแน่นอน สิ่งสำคัญคือรถต้นเหตุที่ว่าอยู่บ้านในขณะเกิดเหตุ

แล้วผู้ชายที่ออกมารับสารภาพในเวลานี้ ไม่รู้ว่าจะออกมาทำไมให้เปลืองตัว เพราะ ครูแพะก็ติดคุกไปแล้ว พึ่งจะมีคุณธรรมสูงส่งในบัดนี้ ญาติผู้ตายก็ไม่เคยเรียกร้องอะไรให้นำคนร้ายตัวจริงมาลงโทษก็เปล่า ได้รับเงินเป็นการเยียวยาก็จบไปแล้วก็ก้มหน้าก้มตาทำมาหากินกันต่อไป ตามวิถีทางของตนเอง ซึ่งถ้าชายที่อ้างตัวว่าขับรถชนคนตายนั้นไม่ออกมาเปิดเผยตัว เรื่องก็จบ ตำรวจไม่มาสนใจ ญาติผู้ตายก็ไม่สนใจ เพียงแต่ว่า “เพื่อนครูแพะ” สนใจ ออกตามล่าหาความจริงว่าใครเป็นคนขับรถชนคนตายแล้วหนีไป ซึ่งเป็นเรื่องดี ที่เพื่อนครูเอาใจใส่รักและห่วงใยเพื่อนครูด้วยกัน แต่ข้ามหน้าข้ามตาสามีและลูกหลานมากไปไหม ลูกผัวเขายังไม่ออกหน้ามาหาความจริงอะไรเลย และอีกอย่างการสืบหาตัวคนร้ายอะไรประมาณนี้
อย่างแรกก็คือ ยากมาก(ถ้าง่ายๆน่าจะไปช่วยราชการตำรวจคนหาคนร้ายจะไปเป็นประโยชน์กับชาวบ้านทั่วไปได้อีก)
อย่างที่สอง คือต้องพอมีเงินอยู่บ้างการออกติดตามหาคนร้ายอะไรประมาณนี้น่าจะต้องใช้เงินอยู่บ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งน่าจะไปสมัครเป็น อ.ส. ช่วยกรมตำรวจจริงๆหาหาตัวคนร้ายได้ในงบประมาณที่ต่ำเอามากๆ จะได้มีเงินติดตามคนร้ายได้หลายคดี ประเทศชาติจะได้ดีขึ้นกว่านี้

อย่างที่สาม ถ้าผมต้องเป็นแพะติดคุกแทนใคร ผมก็ต้องเกิดการ ไม่แค้นก็อาฆาตมั่งล่ะ ก็อย่างที่เห็นถ้าผมรับราชการในตำแหน่งที่เงินเดือนสามหมื่นกว่าแบบนั้น กับต้องมาติดคุกเพราะแกหนีคดี ไอ้ตัวเงินเดือนที่ไม่ได้รับจากการเป็นครูนั้นก็มากพออยู่แล้ว ต้องขาดอิสรภาพ ต้องไปนอนแออัดอยู่กับนักโทษด้วยกันเป็นปีแบบนั้น ผมยอมรับว่าถ้าเจอหน้าคนที่หนีคดีนั้น ขอ... ด่าซักหน่อยเถอะ แต่นี่คุณครูผู้ใจดีกลับไม่แค้นเคืองคนที่ทำให้ตนเองต้องติดคุกไปเป็นปีแบบนี้เลยหรือ ประเสริฐแท้น่าจะบวชชี

About

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.